เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 5. ทุติยสรณานิสักกสูตร

มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นพระอนาคามี
ผู้อันตราปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้
สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต
3. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง
เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป เพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้ง
เดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
4. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง
เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป แม้บุคคล
นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ
และวินิบาต
5. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :534 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 5. ทุติยสรณานิสักกสูตร

พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศ ย่อมควรแก่
การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
6. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง
พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธาพอประมาณ มีความรักพอ
ประมาณในพระตถาคต แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาไม่ดี พื้นดินเสีย ไม่ได้ถอนตอ พืชก็หัก เน่าเสีย
ถูกลมและแดดทำลาย ไม่มีแก่นสาร เก็บไว้ไม่ดี ถึงฝนก็ตกลงมาไม่ดี พืชเหล่า
นั้นจะเจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวไม่ดี
ประกาศไม่ดี ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาไม่ดี และสาวกก็เป็น
ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่
อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชไม่ดี
มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาดี พื้นดินดี ถอนตอแล้ว พืชก็ไม่หัก ไม่เน่าเสีย
ไม่ถูกลมและแดดทำลาย มีแก่นสาร เก็บไว้ดี และฝนก็ตกลงมาดี พืชเหล่านั้นจะ
เจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวดี
ประกาศดี นำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :535 }